วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คนที่ฉลาดกว่าไอสไตน์

William James SidisSidis เป็นชาวรัสเซีย เกิดวัน April Fool's Day หรือ 1 เมษายน ค.ศ.1898 วันที่โลกได้สัมผัสกับบุคคลที่ถือว่า "ฉลาดทีสุดในจักรวาล" จนพวกสมาคมทางด้าน IQ ให้ฉายาว่า "Universal Genius" คืออาจจะต้องให้โลกแตกเสียก่อนถึงจะเจอคน IQ สูงอย่างนี้อีกซักคนซึ่ง IQ ของเขาประมาณอยู่ที่ 260-300 เลยทีเดียวปะป๊ากะม่ะม้าของ Sidis เป็นหมออพยพมาจากรัสเซีย ซึ่งวงศ์ตระกูลสายของปะป๊า ของ Sidis จะฉลาดกันมากๆ เขาลือว่า คนตระกูลนี้สามารถคิดทำความเข้าใจสิ่งต่างๆได้เร็วกว่านักวิชาการเก่งๆถึง 10 เท่า ปะป๊าของ Sidis เป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น แต่ตอนหลังชื่อเสียงหดหายเพราะชอบโม้ว่า เขามีเคล็ดลับในการสอนคนรอบข้างให้ฉลาดขึ้นจนเป็นอัจฉริยะกันได้ และยังมีเรื่องเสียๆหายๆอีกหลายเรื่อง แน่นอน เขาก็บอกว่า ทั้งลูกและภรรยาของเขาเป็นผลผลิตจากวิธีการสอนของเขาเอง ความอัจฉริยะของเค้าฉายแววตั้งแต่เด็ก-เมื่ออายุ 1 ขวบ สะกดคำทุกคำได้ถูกต้อง-เมื่อ อายุ 1 ขวบครึ่ง ก็สามารถอ่าน หนังสือพิมพ์ New York Times ได้-เมื่ออายุ 2 ขวบ ...ก็สามารถเรียนรู้ภาษาลาติน ด้วยตัวเอง-เมื่อ 3 ขวบ สามารถพิมพ์ดีดแล้ว ส่งจดหมายสั่งของเล่นมาให้ตัวเอง-เมื่อ 4 ขวบ ...สามารถอ่านนิยายภาษาลาติน จากนิยายเรื่อง Caesar's Gallic Warsมาด้านการเรียน ....เรียนวิชาตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ตอนอายุ 6 ขวบ (นึกย้อนหลังไป เราคงนั่งเล่นแต่งตัวตุ๊กตาแน่ๆ อ่ะ - -*)ตอน 6 ขวบนี้แหละที่ Sidis เริ่มเรียนภาษารัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮิบรู ตุรกี(Turkish) อาร์เมเนียนและช่วงเดียวกันนี้ เขาเริ่มเรียน Gray's Anatomy พวกกายวิภาค โดยเข้า Grammar Schoolและจบ ในเวลา 7 เดือนพออายุ 8 ขวบเริ่มเป็นอภิชาตบุตร (- -*) เพราะเก่งคณิตศาสตร์กว่าพ่อและ สามารถจำทุกอย่างที่อ่านได้ในตอนนี้เขาสามารถเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Anatomy และ Astronomy ออกมา ทั้งหมด 4 เล่มและสามารถพูดภาษาได้ 10 ภาษา อย่างคล่องแคล่ว!!ในด้านภาษาการเรียนรู้ของเค้า ถึงจุดสุดยอด ที่ว่า นับจนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครในโลกสามารถทำได้อย่างตลอดกาล คือ การเรียนรู้ ภาษา ภายใน 1 วัน (อย่างคล่องแคล่วซะด้วย) และ ในภายหลัง เขาสามารถ พูด สนทนา เขียน อ่าน ได้อย่างคล่องแคล่ว มากถึง 200ภาษา  (พูดได้ 200 ภาษาเชียวหรอ)อุ๊บ๊ะ!!!!!!!อ่ะ ต่อๆ ยังไม่หมดความฉลาด ...เมื่ออายุ 7 ขวบ สอบผ่าน Harvard Medical School anatomy examต่อมา เมื่ออายุ 8 ขวบ สอบ entrance exam ของ MIT ผ่านเมื่อตอนอายุ 10 ขวบ Corrected (ตรวจตรา, แย้ง, เห็นข้อผิดพลาดอ่ะ - -* ไม่รู้ใช้คำไหนดี)ของ Harvard logic professor Josiah Royce's book manuscript:citing โดยบอกว่า "Wrong Paragraphs)พออายุ 11 ขวบ เป็นผู้ที่เข้าศึกษาที่ harvard อายุน้อยที่สุดและจบจาก Harvard ในตอนที่เขาอายุ 16หลังจากนั้นในปีต่อมา ก็เข้ามาศึกษาต่อ Harvard Law Schoolแต่เหมือนกับว่า ตอนเรียนที่ Harvard เขากลับไม่เป็นอย่างที่ทุกๆคนคาดหวังเอาไว้เนื่องจากผลการเรียนเค้า อยู่ในระดับ ปกติ ทั้งที่ควรจะดีเลิศเขาก่อปัญหา และถูกจับในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดการก่อจราจลชีวิตเขาในภายหลังแทบเรียกว่า ล้มเหลว เพราะงานก็ไม่เอา เรียนก็ไม่เรียนทั้งๆที่ เป็นบุคคลที่มี IQ สูงและฉลาดที่สุดใน จักรวาล (ย้ำว่า ตอนนี้ ก็ยังไม่มีใครมากกว่าเขา)มีหลายกระแส บอกว่า เป็นเพราะพ่อแม่ของเขาที่ค่อนข้างกดดันเขาในวัยเด็กและวัยเด็กเค้าที่ ไม่ได้เล่นสนุกเหมือนเด็กคนอื่นทั่วไปบางกระแสก็บอกว่า เป็นเพราะเขาฉลาดจนเกินไป และปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ (เห็นด้วยนะ เพราะว่ายิ่งฉลาดมาก บางทีมันก็รู้สึกเหมือนเป็นตัวประหลาด พอโตขึ้นมามันเลย น๊อตหลุดไรงี้ เลยไม่อยากเข้าสังคมอ่ะ )วันนี้ลองถามคนทั่วไป (แม้กระทั่งตัวเราเอง) ว่าใครกันหนอฉลาดที่สุดในโลก / Iq มากที่สุดในโลกคงมีแต่คนตอบว่า ไอนสไตน์ ....โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า Sidis ความจริงแล้วเป็นบุคคลที่ฉลาดที่สุดที่โลกเราเคยมีมาและยังเป็นชายที่มี IQ สูงราวๆ 300 (อันดับ รองลงมาจาก Sidis เป็นผู้หญิงค่ะ IQ 230 ส่วน ไอนสไตน์จะใกล้เคียงกัน ประมาณ 228 ค่ะ)ที่ไอนสไตน์ดังได้ และ เป็นที่จดจำ เพราะชีวิตของเค้า ไม่ได้ล้มเหลวเหมือน Sidisและ ไอนสไตน์ฝากไว้ซึ่งผลงาน ความฉลาดของเขาส่งเสียงดังกัมปนาท เหมือนระเบิดที่ ฮิโรชิม่า และนางาซากิ ซึ่งความจริงแล้ว ไอนสไตน์ไม่เคยสร้างระเบิดสักลูก แต่แทบทุกคนก็จดจำเขาในฐานะเจ้าของทฤษฏีอันเป็นต้นตอ ของระเบิดที่ร้ายแรงที่สุดในโลก ...สรุปว่า ความฉลาดก็เรื่องหนึ่งการทิ้งร่องรอยความฉลาดไว้อย่างน่าจดจำก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งSidis ใช้เวลาในชีวิตให้หมดไปกับการเรียนรู้สารพัดศาสตร์ที่น่าสนใจเขาสนใจกระทั่งศาสตร์ลึกลับต่างๆ ตลอดจนการพิสูจน์จิตวิญญาณในมิติอื่นส่วนไอน์สไตน์อุทิศ 30 ปีสุดท้ายของชีวิตให้กับทฤษฎีสนามรวม (Umified Field Theory)ด้วยเกรงว่าถ้าไม่ใช่เขา ก็จะไม่มีใครค้นหาความจริงในทฤษฎีนี้พบหลายคนพยายามหาคำตอบว่า ทำไม Sidis ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเลย กลับกลายเป็นล้มเหลวด้วยซ้ำ ทั้งที่เป็นคนที่ IQ สูงที่สุดในจักรวาลก็ว่าได้ (จนปัจจุบันก็ยังไม่มีใครฉลาดเท่านายคนนี้)สาเหตุต่างๆได้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงแต่ก็ไม่มีการฟันธงแน่นอนลงไป บ้างว่า เพราะพ่อที่ใช้จิตวิทยาที่ผิดๆในการสอนลูก(แต่ตัวพ่อกลับบอกว่า เป็นข้อดี) บ้างบอกว่า ตอนเด็กไม่ค่อยได้เล่น(แต่จากพยานก็บอกว่า เขาก็เล่นนะตอนเด็กๆแต่อาจจะน้อยกว่าเด็กทั่วไป) บ้างก็ว่า ตัวเขาเองนั่นแหละที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะการปรับตัวให้เข้ากับสังคมรอบข้าง ฯลฯ Sidis ไปเที่ยวสวรรค์แบบ one-way ticket (ขอให้ไปดี) ตอนอายุได้ 56 ขวบ ใน ปี ค.ศ. 1923 ขณะที่กำลังเขียนหนังสือเรื่อง The Psychology of the Folk Tale โดยเขามีผลงานตีพิมพ์หนังสือ 17 เล่ม และบทความในนิตยสาร 50 เรื่อง

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

                                                                 ยิดีต้รัจ้
                
                    ชื่อ: อรปรียา มาตุลกุล ม.2/10
                      ศลิษา    พิมดา     ม.2/10

I love snsd and keroro

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ภาพ 3 มิติ

ภาพ3 มิติ คือ ภาพที่มีการแสดงรูปทรง ความกวาง ความยาว ความสูง และความลึก มีลักษณะภาพแสดงปริมาตรของสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นๆ




ภาพ 2 มิติ คืออะไร

คือ ภาพที่มีเเต่ด้านกว้างกับยาว เเต่ไม่มีความหนาหรือความลึก ยกตัวอย่างเช่น รูปสามเหลี่ยม เรียกรูป 2มิติว่า รูปร่าง

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

ชนิดของเครือข่าย

เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย

 อุปกรณ์เครือข่าย

  • เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และ
มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย .
  • ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
  • ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
  • สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล
  • เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
  • เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น